|
<strong>ชื่อเรื่อง</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3<br />
<br />
<strong>ผู้รายงาน</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นางคนึงนิตย์ เสมอวงศ์<br />
<strong>สถานศึกษา</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี<br />
<strong>ปีที่ศึกษา</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2563<br />
<br />
<strong>บทคัดย่อ</strong><br />
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) 2) และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คู่มือและแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพ เรื่อง งานช่าง และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img height="27" src="file:///C:/Users/ThiT/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image002.gif" width="12" />&nbsp;) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) หาค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)<br />
<br />
ผลการวิจัยพบว่า<br />
1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ คือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ โดยผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นในเรื่องที่เรียนรู้ ปฏิบัติจากทักษะย่อยไปสู่ทักษะใหญ่จนสามารถเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ทักษะปฏิบัติในการทำงานได้ด้วยความชำนาญ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นกลุ่มแบบร่วมมือ ที่มีสมาชิกตั้งแต่ 3-6 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยแต่ละคนมีบทบาทภายในกลุ่มอย่างชัดเจน ได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้เรียนที่ไม่เคยมีส่วนร่วมในการเรียน หรือผู้เรียนที่เรียนอ่อนมีทักษะกระบวนการทำงาน สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่ม ส่งผลให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในตนเอง ตระหนักรู้ว่าตนเองมีคุณค่าที่สามารถช่วยให้กลุ่มประสบผลสำเร็จได้ มีทักษะการปฏิบัติงานที่ดี และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะการปฏิบัติงานในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ คือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานวิชาการงานอาชีพ และเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ระบุวัตถุประสงค์ (Identify/Specify the objective) ขั้นที่ 2 จัดกลุ่มแบบร่วมมือ (Group cooperation) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ทักษะที่จำเป็น (Analyze the necessary skills) ขั้นที่ 4 สาธิตและปฏิบัติทักษะย่อย (Demonstrate and practice sub-skills) ขั้นที่ 5 แนะนำเทคนิคและเสริมแรง (Technique introduction and encouragement) ขั้นที่ 6 เชื่อมโยงทักษะที่สมบูรณ์ (Complete skill association) ขั้นที่ 7 ประเมินทักษะและผลสัมฤทธิ์ (Assessing skills and achievements) ขั้นที่ 8 ปรับประยุกต์ใช้ทักษะปฏิบัติ (Applying practical skills) 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบ คือ การประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพ 5) เงื่อนไขสำคัญของการใช้รูปแบบ ได้แก่ ด้านผู้เรียน คือ ผู้เรียนแต่ละคนต้องรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะสมาชิกของกลุ่ม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะต่าง ๆ ด้วยตนเอง และช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มให้สามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ ผู้เรียนชื่นชมและให้กำลังใจซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ภายในกลุ่มแบบร่วมมือ ด้านผู้สอน คือ ผู้สอนต้องวิเคราะห์ความสามารถของผู้เรียนและจัดกลุ่มอย่างเหมาะสม ปรับเปลี่ยนกลุ่มผู้เรียนอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เรียนทำงานร่วมผู้อื่นได้ ผู้สอนทำหน้าที่เสมือนผู้อำนวยการสอน จัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ แนะนำเทคนิค การปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้รางวัล สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อเสริมแรงให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ผู้สอนติดตามความก้าวหน้าวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วัดทักษะการปฏิบัติงาน และสะท้อนผลให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน จนกระทั่งงานนั้นสำเร็จ ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.22/80.81<br />
2. ประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 2.1) ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพ เรื่อง งานช่าง หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีระดับความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (<img height="25" src="file:///C:/Users/ThiT/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image004.gif" width="12" />&nbsp;) เท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.63<br />
&nbsp;<br />
<br />
|